Press ข่าววันที่ 8 กรกฎาคม 2567
- วันเผยแพร่
- ฮิต: 298
กรมสุขภาพจิต จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดมาตราการป้องกันแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายระดับจังหวัด และระบบ
การบันทึกข้อมูลจากการสอบสวนอุบัติการณ์ฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตายแนวใหม่ ให้ครอบคลุมทั้ง 12 เขตสุขภาพ
วันนี้ (8 กรกฎาคม 2567) กรมสุขภาพจิต โดยโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดมาตราการป้องกันแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายระดับจังหวัด เพื่อต่อยอดสอบสวน ได้ข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วขั้นตอนนี้คือการเอาข้อมูลวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่ได้มากำหนดมาตรการจัดการกับเหตุปัจจัย และระบบการบันทึกข้อมูลจากการสอบสวนอุบัติการณ์ฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตายแนวใหม่ ให้แก่ทุกจังหวัดครอบคลุมทั้ง 12 เขตสุขภาพแล้ว พร้อมการระดมความคิดเห็นเพื่อนำมาวิเคราะห์ประมวลผล สู่การกำหนดมาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
นายแพทย์จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายสร้างผลกระทบทั้งต่อบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศอย่างยิ่ง กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดอัตราการฆ่าตัวตายไว้ ไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 ภาพรวมประเทศ อัตราการฆ่าตัวตาย อยู่ที่ 4.68 ต่อประชากรแสนคนและมี 7 จังหวัด เขตพื้นที่ ภาคเหนือ อัตราการฆ่าตัวตายนั้น สูงกว่า 7 ต่อแสนประชากร เพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาที่เผชิญอยู่ การแก้ไขปัญหาการจะต้องใช้ข้อมูลจริงในพื้นที่ ซึ่งโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ได้มีการอบรมพัฒนาสร้างนักสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตายให้แก่ทุกจังหวัดครอบคลุมทั้ง 12 เขตสุขภาพแล้ว ต่อจากนี้ จะเป็นช่วงที่สำคัญยิ่งต่อการนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ประมวลผล สู่การกำหนดมาตรการแก้ปัญหา ทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาว มีการทบทวนและปรับปรุงมาตรการใหม่อย่างเป็นระบบ ลดขนาดความรุนแรงของปัจจัย จนสามารถควบคุมลดอัตราการฆ่าตัวตายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข และแพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 1 ที่ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการวิพากย์ ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ร่วมประชุม ซึ่งแต่ละจังหวัดจะได้นำมาตรการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายนี้ ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียที่ป้องกันได้จากการฆ่าตัวตายในวงกว้างต่อไป
นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา อัตรา
การฆ่าตัวตายยังคงเพิ่มสูงขึ้น ล่าสุด ปี พ.ศ 2566 อัตราการฆ่าตัวตายยังคงอยู่ที่ 8 ต่อแสนประชากร ส่วนผู้พยายามฆ่าตัวตายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ด้วยเหตุปัจจัยมีความซับซ้อนเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตรและช่วงเวลา ทำให้มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีอยู่เดิมอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร ไม่ครอบคลุมเหตุปัจจัยใหม่ที่เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นฯ จึงได้มีการพัฒนา “ระบบการบันทึกข้อมูลจากการสอบสวนอุบัติการณ์ฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตายแนวใหม่” ให้แต่ละพื้นที่เป็นผลให้จังหวัดมีข้อมูลเหตุปัจจัยการฆ่าตัวตายที่ครบถ้วน ทั้งในส่วนของปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยปกป้องที่อ่อนแอเพียงพอต่อการนำมากำหนดมาตรการแบบพุ่งเป้าแยกตามเหตุปัจจัยที่พบและการจัดวางแผนงานโครงการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย ที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งกลุ่มระดมสมองเพื่อจัดทำมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตาย
รายจังหวัดมุ่งหวังให้แต่ละจังหวัดที่มีมาตรการและแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีประสิทธิภาพอันเกิดจากการ
ใช้ประโยชน์ข้อมูลการสอบสวนการฆ่าตัวตาย ลดอัตราการพยายามฆ่าตัวตายได้อย่างแท้จริง
กรมสุขภาพจิต มุ่งมั่นว่าการบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่องช่วยให้สามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ข้อมูลที่ได้ช่วยให้สามารถปรับปรุงมาตรการและนโยบายให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นของมาตรการป้องกันและลดอัตราการฆ่าตัวตายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
********************
8 กรกฎาคม 2567