Pressข่าววันที่ 11 กันยายน 2566
- วันเผยแพร่
- ฮิต: 1549
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ลั่นนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ชูประเด็นสุขภาพจิตและการรักษาจิตเวชใกล้บ้าน สนับสนุนบริการดิจิทัลออนไลน์ผ่านระบบ Telepsychiatry เติมเต็มการดูแลพื้นที่ห่างไกลและกลุ่มเปราะบางทาง สังคม
วันนี้ (11 กันยายน 2566) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงนโยบายกระทรวง สาธารณสุข พ.ศ. 2567 โดยชูประเด็นการขับเคลื่อนด้านการบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุม พร้อมส่งเสริมงานสุขภาพจิตเพื่อลด ช่องว่างการเข้าถึงบริการจิตเวชและยาเสพติด เชื่อมโยงการทํางานทุกภาคส่วนและการวิเคราะห์ข้อมูลยกระดับนโยบายบัตรทอง 30 บาท เพมิ่ คุณภาพชีวิตประชาชน ซึ่งนโยบายที่สําคัญ คือ โครงการพระราชดําริละโครงการพระราชดํารัสฯตลอดจนโครงการเฉลิมพระเกียรติที่ เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงค์ และนโยบายกระทรวงสาธารณสุขอีก 11 เรื่องโดยมีเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างบริการสาธารณสุข สาม ประการ คือ การแก้ปัญหา การวางรากฐาน และการสร้างเศรษฐกิจ ทั้งนี้ 1.การแก้ปัญหาที่สําคัญได้แก่การขยายโรงพยาบาลในพื้นที่กทม. 50 เขตและ50 โรงพยาบาลและปริมณฑล,การส่งเสริมและการพัฒนางานสุขภาพจิตและยาเสพติด,การดูแลผู้ป่วยและการพัฒนาระบบ การให้บริการมะเร็งแบบครบวงจร และการสร้างขวัญ กําลังใจบุคลากร 2.การวางรากฐาน อาทิการพัฒนาการแพทย์ปฐมภูมิ,การ สาธารณสุขชายแดนและพื้นที่เฉพาะ,สถานชีวาภิบาลและพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย และ 3.การสร้างเศรษฐกิจ ได้แก่ การพัฒนา ดิจิทัลสุขภาพ,การส่งเสริมการมีบุตรและเศรษฐกิจสุขภาพ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังการเพิ่มบริการหอผู้ป่วยจิตเวชในทุกโรงพยาบาล ศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ตั้งแต่เดือนมกราคม พศ. 2566 ในระยะเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งปีนี้ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการจิตเวชในปี 2566 เพิ่มขึ้นได้ถึงประมาณร้อยละ 15 โดยเฉพาะการจัดวางกลไกสําคัญในการดูแลผู้ป่วยสารเสพติดและการรักษาผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน เป็นการบําบัดผู้ป่วยอย่างเข้มข้นจนอาการทุเลาลงแล้วพิจารณาส่งต่ออย่างเหมาะสม ซึ่งขณะนี้ มีหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดใน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงฯ ครบทุกจังหวัดและโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต ในทั้ง 12 เขตสุขภาพเป็นจํานวนถงึ 7,844เตียง
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้ บริการหอผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลศูนย์และ โรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงฯ รองรับผู้ป่วยได้ถึงร้อยละ 34.3 และ รพ.จิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิตรองรับผู้ป่วย ร้อยละ 70.8 และทุกหน่วยงานจะเร่งเพิ่มเติมการให้จัดบริการ Telepsychiatry ตามนโยบายรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรองรับ บริการและเพิ่มพูนคุณภาพสําหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยขณะนี้ มีการเริ่มต้นใช้บริการ Telepsychiatry ทั้งสําหรับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และกลุ่มญาติหรือผู้ดูแลกว่าสามพันราย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใน 5 อันดับคือ 1) ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีปัญหาจิตเวช 2) โรคจิตเภท 3) โรคซึมเศร้า 4) โรคสมาธิสั้น และ 5) พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจุบันกรมสุขภาพจิตเพิ่ม ช่องทางการสํารวจสุขภาพใจตนเองผ่าน application on line คือ DMIND Application ทางไลน์หมอพร้อม และคิวอาร์โคดMental Health Check In (MHCI) เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสัญญาณความเสี่ยงภาวะสุขภาพจิตได้ พร้อมคําแนะนําการสื่อสารและการบริการ ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต1323ตลอด24 ชั่วโมงอีกด้วย
กรมสุขภาพจิตพร้อมสนันสนุนการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพกายและใจแข็งแรง ครอบคลุม ทั่วถึง เท่าเทียม เป็นกําลังสําคัญแก่ประเทศชาติในการสร้างสังคมเศษฐกิจมูลค่าสูง กระทรวงสาธารณสุข พร้อมยกระดับนโยบายบัตรทอง 30 บาทเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน
11 กันยายน 2566