EPress 111067

        

กรมสุขภาพจิต ห่วงใยความขัดแย้งจากความเห็นต่างจากการรับข่าวสาร ย้ำเหรียญมี 2 ด้าน ศึกษาข้อมูลอย่างมีสติและไม่ใช้อารมณ์ตัดสินเพราะอาจสร้างปัญหาสุขภาพจิตทั้งต่อตนเองและคนใกล้ชิด

         วันนี้ (11 ตุลาคม 2567) กรมสุขภาพจิต เฝ้าระวังสถานการณ์ความสนใจจากประชาชนในประเด็นข่าวธุรกิจระบบออนไลน์ ข้อมูลอย่างมีสติและสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

          นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากกรณีกรณีความเห็นต่างและการแถลงข่าวตอบโต้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจระบบออนไลน์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมากในขณะนี้ กรมสุขภาพจิตได้เฝ้าระวังสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะมีความเห็นและมีข้อคิดเห็นที่รุนแรงบนโลกโซเชียลมีเดียในประเด็นที่เกิดจากความคิดที่แตกต่าง ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะมีการแบ่งฝ่ายในการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว กรมสุขภาพจิตจึงอยากขอให้ประชาชนทุกฝ่ายรับข้อมูลข่าวสารอย่างเข้าใจและไม่ตัดสิน โดย 1. ผู้พูดหรือส่งข้อความเมื่อรับสื่อ ต้องมีสติ ให้ความเห็นอย่างสร้างสรรค์และหาข้อมูลจากหลายช่องทางอย่างไม่ตัดสิน 2. ผู้ฟังหรือรับข้อมูล เกิดความขัดแย้งส่งผลให้เครียดกังวลสูง ควรเลือกรับข้อมูลอย่างมีสติและเข้าใจทุกฝ่ายไม่เหยียดหยาม เยาะเย้ยหรือใช้คำพูดรุนแรง 3. ผู้คนในสังคม พักการรับข้อมูลบ้างเพื่อลดการสะสมความเครียด ที่สำคัญทุกฝ่ายต้องมีสติและรับฟังข้อมูล โดยนึกถึงผลกระทบของการสื่อสารด้วยการใช้คำพูดที่รุนแรง เพราะการให้ข้อมูลที่เป็นความจริงไม่จำเป็นต้องต้องใช้คำพูดที่รุนแรง ซึ่งเมื่อใช้จะยิ่งสร้างอารมณ์ไปกระตุ้นอารมณ์ สร้างความเกลียดชังและยั่วยุให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้นไปอีกเพราะมุมมองที่ตนเองมองในสิ่งที่ได้รับข้อมูลจากการบอกเล่า หากยังไม่คลี่คลาย ความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายอาจจะแตกต่างกันไปแล้วแต่มุมมอง

          นายแพทย์จุมภฎ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต พรมสีดา กล่าวว่า เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ การโต้เถียงและถกเถียงในสื่อสังคมออนไลน์หรือสื่อข่าวต่างๆ เป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย แต่ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพจิตของผู้ร่วมโต้เถียงและผู้รับฟังหรืออ่าน ได้ดังนี้ 1. การโต้เถียงที่ยืดเยื้อและขาดความเคารพต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง อาจก่อให้เกิดอารมณ์ลบ เช่น ความโกรธ ความเครียด หรือความไม่พอใจ จะส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว 2. ความเครียดจากโต้เถียงสำหรับผู้ที่มีส่วนร่วม อาจเกิดความกังวลเกี่ยวกับการถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือถูกโจมตีจากผู้อื่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจการและความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง 3. ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยเฉพาะในเรื่องความเชื่อ อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล ทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง บางครั้งอาจถึงขั้นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนหรือครอบครัวเสียหาย จึงควรหลีกเลี่ยงการรับข่าวสารที่มากเกินไป และเลือกติดตามข่าวจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น การจำกัดเวลาและการพักจากข่าวเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเครียดซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและจิตใจในระยะยาว

          หากรับข่าวสารแล้วเกิดความเครียดไม่สบายใจกรมสุขภาพจิตมีช่องทางปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตสำหรับประชาชนสามารถขอรับคำปรึกษาได้โดย ตรวจสุขภาพใจกับ MENTAL HEALTH CHECK-IN หรือ DMIND บนแอพพลิเคชั่น หมอพร้อม Sati App สามารถดาวน์โหลดฟรี หรือสายด่วนสุขภาพจิต โทร 1323 ตลอด 24 ชม.


(11 ตุลาคม 2567)